Saturday, November 25, 2006

สุนทรพจน์เปรียบเทียบเชอร์ชิล-สุรยุทธ ของเปรม : bad history, but most revealing

(17 พฤศจิกายน 2549)



เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ไปกล่าวปาฐกถาที่สถาบันเทคโนโลยี่พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โดยมีพลเอกสรยุทธ จุฬานนท์ ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารฯร่วมนั่งฟังอยู่ด้วย ตอนหนึ่ง พลเอกเปรมได้เปรียบเทียบยกย่อง พลเอกสุรยุทธ ว่าเหมือนกับวินสตัน เชอร์ชิล นายก รมต.สมัยสงครามโลกครั้งที่สองของอังกฤษ (พูดง่ายๆคือเป็นการชมสุรยุทธต่อสาธารณะต่อหน้าสุรยุทธเองเลยทีเดียว!) ข้อความดังกล่าวมีดังนี้ (ดูรายงานใน ข่าวสด ผมได้เปรียบเทียบกับข่าวภาคค่ำของช่อง 11 เมื่อวานนี้ ซึ่งถ่ายทอดเสียงจริงตอนนี้ของพลเอกเปรม พบว่าตรงกัน - การเน้นคำในข้อความต่อไปนี้เป็นของผมเอง)

"ทุกคนต้องรู้จักมิสเตอร์วินสตัน เชอร์ชิลด์ เป็นนายกฯของอังกฤษ สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มาที่ไปก็คล้ายๆ กับคุณสุรยุทธ์ คือไม่ได้เป็นผู้แทนราษฎร แต่ถูกเชิญมาเพราะควีนส์เห็นว่าเหมาะสม คุณเชอร์ชิลด์พูดเรื่องเสียสละ ที่แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องเสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง นายกฯสุรยุทธ์ก็เหมือนกัน คล้ายกับเชอร์ชิลด์ มาเป็นนายกฯโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่เพื่อชาติบ้านเมือง"

ข้อความตอนนี้ เป็น bad history เพราะข้อมูลเกี่ยวกับวินสตัน เชอร์ชิล ผิดอย่างถนัด 2 ประการคือ

(1) เชอร์ชิล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือได้รับเลือกตั้งเป็น สส.ของเขต Epping ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Essex ตลอดช่วง 1924 ถึง 1945 (ซึ่งครอบคลุมช่วงที่เขาเป็นนายก รมต.ยามสงคราม ระหว่าง 1940 ถึง 1945) หลังจากนั้น ก็เป็น สส.เขต Woodford จากปี 1945 ถึง 1964 (เรียกได้ว่าจนถึงแก่กรรม เขาตายเมื่อ 24 มกราคม 1965) ช่วงเป็น สส.เขต Woodford นี้ เขาได้เป็น นายกฯอีกครั้ง ระหว่าง 1950-1955 ดูรายละเอียดเหล่านี้ได้จาก Churchill Archive

ความจริง เรื่อง เชอร์ชิล เป็น ส.ส. ขณะเป็นนายกรมต.นี้ ถ้าเอามาเปรียบเทียบกับกรณีสุรยุทธ ยิ่งสำคัญ ในแง่ข้อมูลแวดล้อม คือ หลังจาก Chamberlain (ผู้มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ทางประวัติศาสตร์ในฐานะนายกฯอังกฤษผู้ที "เอาใจ/อ่อนข้อให้" ฮิตเลอร์ กรณีเชคโกสโลวาเกีย) ลาออก เพราะล้มเหลวในการบริหารยามสงครามแล้ว ตอนแรก คนที่มีถูกทาบทามให้เป็นแทนคือ Lord Halifax ซึ่งไม่ใช่เป็น สมาชิกสภาล่าง (House of Common) ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นสมาชิกสภาสูง (House of Lord) ที่ไม่ใช่มาจากการเลือตั้ง แต่ Halifax ปฏิเสธตำแหน่ง เพราะเห็นว่า ตัวเองไม่ได้เป็นสมาชิกสภาล่าง จะนำประเทศไม่ได้ Chamberlain จึงเชิญให้เชอร์ชิลมาเป็นนายกฯแทน

(2) อันที่จริง ประมุขอังกฤษในขณะนั้น คือ กษัตริย์ (คิง) ไม่ใช่ราชินี (ควีน) ดังที่พลเอกเปรมเข้าใจ คือ King Goerge VI (พระราชบิดาพระนางเจ้าอลิซาเบธ ราชินีองค์ปัจจุบัน)

แต่ขณะที่ สุนทรพจน์เชอร์ชิล-สุรยุทธ ของพลเอกเปรม เป็น bad history เพราะผิดพลาดเรื่องข้อมูลสำคัญดังกล่าว แต่กลับเปิดเผยให้เห็นข้อมูลที่น่าสนใจมากๆบางอย่าง (most revealing) อันที่จริง ผมคิดว่า กล่าวได้ว่า นี่เป็นครั้งแรก ที่พลเอกเปรมยืนยันด้วยตัวเองถึงเบื้องหลังหรือผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประการครั้งนี้ (โดยไม่ตั้งใจ)!!